แชร์

โรคพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

อัพเดทล่าสุด: 2 เม.ย. 2025
893 ผู้เข้าชม

โรคพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

อาการของโรคนี้เริ่มจากความรู้สึกไม่สบายบริเวณข้อมือ ค่อยๆ เพิ่มความรุนแรงจนกลายเป็นอาการปวดตลอดเวลา ซึ่งจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของมือ เช่น การกำมือไม่สุด หรือการเขียนหนังสือที่ลำบากขึ้น นอกจากนี้ยังอาจมีอาการชาหรือรู้สึกหนาที่นิ้วมือและอุ้งมือ โดยเฉพาะนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้ว ฝ่ามืออาจรู้สึกหนัก หรือมีกล้ามเนื้อฝ่อ

อาการ 
มักจะเป็นน้อยๆ แล้วค่อยๆ เป็นมากขึ้น เริ่มด้วยอาการปวดที่ข้อมือหรือรู้สึกยิบๆ บริเวณข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือ ทางด้านอุ้งมืออาจมีความรู้สึกเหมือนนิ้วหนา มีอาการชาบริเวณนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้ว ทางฝั่งฝ่ามือ และหนักและกล้ามเนื้อฝ่อ ถ้าเป็นนาน 4 - 5 เดือน อาการมักจะเป็นตลอดเวลา การเคลื่อนไหวในฝ่ามือจำกัด เช่น กำมือไม่สุด เขียนหนังสือลำบากมากขึ้น กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อฝ่อลีบ

สาเหตุ
โรคนี้เกิดจากการกดทับของเส้นประสาทกลางฝ่ามือซึ่งผ่านโพรงข้อมือ (Carpal Tunnel) สาเหตุของการเกิดกดทับสามารถมีหลายปัจจัย
1.เพศและพันธุกรรม ส่วนใหญ่ผู้หญิงมีโอกาสเป็นได้มากกว่าผู้ชาย เพราะโครงสร้างร่างกายผู้หญิงเป็นคนตัวเล็กกว่า ดังนั้นข้อมือจึงเล็กกว่าทำให้อาจเกิดการตีบแคบของโพรงบริเวณข้อมือได้ง่าย
2.ความผิดปกติทางโครสร้าง เช่น ข้อมือหัก หรือเคลื่อน สามารถทำให้เกิดการกดทับของเส้นประสาทได้
3.ภาวะอ้วน ถือว่าเป็นภาวะเสี่ยงของการกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อมือได้
4.โรคที่เกี่ยวข้อง เช่น เบาหวาน รูมาตอยด์ และไฮโปไทรอยด์
5.การใช้ข้อมือซ้ำๆ โดยต้องกระดกข้อมือตลอดเวลา เช่น เกมเมอร์ การตัดต่อคลิปวิดิโอ หรือพนักงานที่ต้องใช้เม้าส์หรือแป้นพิมพ์บ่อยๆ เป็นต้น

ทางการรักษาและป้องกัน
ระยะแรก
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ปวด
- การประคบเย็นหรือร้อนบริเวณที่ปวด เช่น ใช้น้ำแข็งห่อผ้าขนหนูประคบ 

ระยะสอง
- เมื่อไม่มีอาการปวดหรือบวม ควรฝึกเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ

- ใช้หนังยางเส้นใหญ่รัดปลายนิ้วและค่อยๆ กางนิ้วออก (ใช้แรงต้านจากหนังยาง) ทำซ้ำ 20 ครั้งและเพิ่มจำนวนตามที่สามารถทำได้โดยไม่เจ็บ

- บริหารข้อมือเพื่อผ่อนคลายและป้องกันอาการปวด

บทความที่เกี่ยวข้อง
ภาวะขาดน้ำ
ภาวะขาดน้ำเป็นเรื่องใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม ส่งผลต่อทั้งสุขภาพกายและใจ มารู้วิธีดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากอาการขาดน้ำในทุกช่วงวัย
8 ก.ค. 2025
ประคบร้อนประคบเย็น (Hot And Cold Therapy)
ประคบร้อนและประคบเย็น เป็นวิธีการบำบัดและบรรเทาอาการปวดบวมที่อาศัยเทคนิคการใช้ความร้อนและความเย็นช่วนในการปรับสมดุลให้ร่างกาย
19 มี.ค. 2025
ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงอายุ (Sarcopenia)
ภาวะมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลงอย่างผิดปกติ ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยจะมีอาการอ่อนแรง เหนื่อยง่าย เคลื่อนไหวลำบาก และหกล้มได้ง่าย ภาวะนี้อาจนำไปสู่ภาวะพึ่งพิงและการเสียชีวิตได้
19 มี.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy