ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงอายุ (Sarcopenia)
อัพเดทล่าสุด: 20 มิ.ย. 2025
3258 ผู้เข้าชม
ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงอายุ (Sarcopenia)
ภาวะนี้เกิดจากการสูญเสียมวลและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ทำให้เคลื่อนไหวได้ยากขึ้น อ่อนแรง เหนื่อยง่าย และ เสี่ยงต่อการหกล้ม หากปล่อยไว้อาจนำไปสู่ภาวะพึ่งพิงและเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง
สาเหตุของภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงอายุ
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น มวลกล้ามเนื้อจะเริ่มลดลงตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป และลดลงมากขึ้นในวัยสูงอายุ
- พันธุกรรม บางคนอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยมากกว่าคนอื่นๆ เนื่องจากพันธุกรรม
- ปัจจัยด้านโภชนาการ การขาดโปรตีน แคลเซียม และ วิตามินดี อาจส่งผลให้มวลกล้ามเนื้อลดลง
- โรคประจำตัว โรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคหัวใจ และ โรคมะเร็ง
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์
อาการของภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย
- อ่อนแรง
- เหนื่อยง่าย
- ทรงตัวลำบาก
- หกล้มบ่อย
- ขึ้นลงบันไดยาก
- ลึุกนั่งลำบาก
- หยิบจัดสิ้งของไม่ถนัด
การวินิจฉัยภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย
แพทย์จะพิจารณาจากอาการ ประวัติทางการแพทย์ ตรวจประเมินร่างกาย เช่น การตรวจมวลกล้ามเนื้อ ตรวจความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ตรวจสมรรถภาพทางกาย
การรักษาภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย
- การออกกำลังกายแบบแอโรบิค
- รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง อย่างน้อย 1 - 1.2 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
- รับประทานแคลเซียมและวิตามินดีเสริม
- รักษาโรคประจำตัวที่อาจส่งผลต่อมวลกล้ามเนื้อ
การป้องกันภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย
- ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อย 30 นาที/วัน - 5 วัน/สัปดาห์ และออกกำลังกายแบบเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออย่างน้อย 2 - 3 วัน/สัปดาห์
- รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- งดสูบบุหรี่และลดการดื่มแอลกอฮอล์
บทความที่เกี่ยวข้อง
หรือที่เรียกกันจนติดปากว่า " น้ำตาลตก " เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม / เดซิลิตร ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือไม่เป็นโรคเบาหวานก็ได้
19 มี.ค. 2025
ปอดบวมเป็นภาวะที่ถุงลมในปอดเกิดการอักเสบและติดเชื้อ ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา โรคปอดบวมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสป่วยเป็นโรคปอดบวมมากกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลงตามวัย
19 มี.ค. 2025
โรคเดอโกแวง เป็นการอักเสบและมีการตีบแคบของเอ็นหุ้มข้อที่ทำหน้าที่เหยียดข้อมือ (Wrist extensors) ซึ่งอยู่บริเวณตำแหน่งปุ่มกระดูกเรเดียล (Radial styloid) ของข้อมือ
19 มี.ค. 2025