ปอดบวม (Pneumonia) อาการและการรักษา
โรคปอดบวม
ปอดบวมเป็นภาวะติดเชื้อที่ทำให้ถุงลมในปอดอักเสบ ซึ่งเกิดจากแบคทีเรีย ไวรัส หรือ เชื้อรา ทุกคนมีโอกาสป่วยได้ แต่ ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงสูงกว่า เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง
สาเหตุของโรคปอดบวมในผู้สูงอายุ
เชื้อแบคทีเรีย : แบคทีเรีย Streptococcus pneumoniae เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ
เชื้อไวรัส : ไวรัสที่สามารถทำให้เกิดโรคปอดบวมได้รับการระบุไว้เช่น Influenza A และ B หรือ Respiratory Syncytial Virus (RSV)
เชื้อร่วมกัน : เช่นเชื้อ Mycoplasma pneumoniae ที่เป็นสาเหตุของโรคปอดบวมชนิดอื่นๆ
อาการของโรคปอดบวมในผู้สูงอายุ
- ไอและมีเสมหะ
- เหงื่อออกมาก
- มีไข้สูง หนาวสั่น
- หายใจลำบาก อ่อนเพลียผิดปกติ
การป้องกันโรคปอดบวมในผู้สูงอายุ
การฉีดวัคซีน : การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และ วัคซีนป้องกันโรคปอดบวมสามารถช่วยลดความเสี่ยงในกลุ่มผู้สูงอายุ
การล้างมือ : การล้างมืออย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
การหลีดเลี่่ยงการสัมผัสคนที่เป็นไข้ : หากมีคนในบ้านเป็นไข้หวัดหรือมีอาการโรคปอดบวม ควรหลัีกเลี่ยงการสัมผัสและใกล้ชิดในระยะเวลาที่มีความเสี่ยงสูง
การรักษาโรคปอดบวมในผู้สูงอายุ
การให้ยาปฏิชีวนะ : การรักษาโรคปอดบวมในผู้สูงอายุตัวแรกคือการให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อกำจัดเชื้อ
การรักษาตามอาการ : การรับประทานยาลดไข้และยาลดอาการไอ เพื่อช่วยบรรเทาอาการ
การให้ออกซิเจน : ในกรณีที่ออกซิเจนในเลือดต่ำ
การรักษาในโรงพยาบาล : กรณีรุนแรง หรือ ผู้สูงอายุที่มีปัจจัยเสี่ยง อาจต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล
ปอดบวมในผู้สูงอายุอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต การสังเกตอาการและเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วคือกุญแจสำคัญ
หากสงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีความเสี่ยง ควรพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาโดยละเอียด