Carpal Tunnel Syndrome


Carpal Tunnel Syndrome

โรคพังผืดกดกทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

(Carpal Tunnel Syndrome)

อาการ
อาการเริ่มต้นมักจะเป็นน้อยๆ แล้วค่อยๆ เป็นมากขึ้น เริ่มด้วยอาการปวดที่ข้อมือหรือรู้สึกยิบๆ บริเวณข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือ ทางด้านอุ้งมืออาจมีความรู้สึกเหมือนนิ้วหนา มีอาการชาบริเวณนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้ว ทางฝั่งฝ่ามือ และหนักและกล้ามเนื้อฝ่อ ถ้าเป็นนาน 4 - 5 เดือน อาการมักจะเป็นตลอดเวลา การเคลื่อนไหวในฝ่ามือจำกัด เช่น กำมือไม่สุด เขียนหนังสือลำบากมากขึ้น กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อฝ่อลีบ

สาเหตุ
บริเวณของข้อมือจะมีโพรงหรืออุโมงค์ (carpal tunnel) หรืออุโมงค์พังผืดบริเวณข้อมือ (Transverse carpal ligament) ซึ่งเป็นที่ลอดผ่านของเส้นประสาทกลางฝ่ามือ โดยสาเหตุของโรคนี้เกิดจากความดันในโพรงข้อมือสูงขึ้น มาจากการหนาตัวของเนื้อเยื่อและพังผืดบริเวณข้อมือทำให้โพรงข้อมือเกิดการตีบแคบลงจึงเกิดการกดทับของเส้นประสาทได้ ส่งผลให้เลือดไม่มาเลี้ยงเส้นประสาทกลางฝ่ามือและทำให้เกิดการทำงานผิดปกติของมือ ซึ่งสาเหตุของการกดทับก็มีด้วยกันหลายสาเหตุ ดังนี้
1.เพศและพันธุกรรม ส่วนใหญ่ผู้หญิงมีโอกาสเป็นได้มากกว่าผู้ชาย เพราะโครงสร้างร่างกายผู้หญิงเป็นคนตัวเล็กกว่า ดังนั้นข้อมือจึงเล็กกว่าทำให้อาจเกิดการตีบแคบของโพรงบริเวณข้อมือได้ง่าย
2.ความผิดปกติทางโครสร้าง เช่น ข้อมือหัก หรือเคลื่อน สามารถทำให้เกิดการกดทับของเส้นประสาทได้
3.ภาวะอ้วน ถือว่าเป็นภาวะเสี่ยงของการกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อมือได้
4.โรคที่เกี่ยวข้อง เช่น เบาหวาน รูมาตอยด์ และไฮโปไทรอยด์
5.การใช้ข้อมือซ้ำๆ โดยต้องกระดกข้อมือตลอดเวลา เช่น เกมเมอร์ การตัดต่อคลิปวิดิโอ หรือพนักงานที่ต้องใช้เม้าส์หรือแป้นพิมพ์บ่อยๆ เป็นต้น

ทางการรักษาและป้องกัน
ระยะแรก
จะมีอาการปวดบริเวณอุ้งมือ ในบางรายอาจจะมีอาการบวมข้อมือร่วมด้วยควรหลีกเหลี่ยงกิจกรรมที่ทำแล้วปวด
1. ประคบบริเวณที่ปวดนาน 30 นาที วันละ 1 - 2 ครั้ง หรือ อาจจะประคบด้วยความเย็น โดยใช้น้ำแข็งห่อผ้าขนหนูประคบที่ปวดนาน 10 - 15 นาที บ่อย ๆ ได้ตามความต้องการ แต่ควรเว้นช่วงในการประคบมากกว่า 30 นาที-1ชั่วโมง แล้วจึงประคบใหม่อีกครั้ง

ระยะสอง
จะไม่มีอาการปวดหรือบวมบริเวณอุ้งมือหรือข้อมือให้เน้นฝึกเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ
- ใช้หนังยาง (หนังยางเส้นใหญ่) รัดปลายนิ้ว กางนิ้วออก (ใช้แรงดึงของหนังยางเป็นแรงต้าน) ค่อย ๆ เพิ่มจำนวนหนังยาง ขึ้นเรื่อย ๆ ตามที่ทำได้ โดยไม่เจ็บ จำนวน 20 ครั้ง ทำบ่อยได้ตามต้องการ
- สามารถบริหารข้อมือเพื่อผ่อนคลายและป้องกันการปวดข้อมือ

กภ.อัจจิมา ปล้องอ้วน นักกายภาพบำบัด
โรงพยาบาลผู้สูงอายุและศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู Chersery Home

Tel: 084 264 2646 / 084 264 2662
Line id: @cherseryhome
Facebook: cherseryhome
www.cherseryhome.com

บอก"รัก"ผู้สูงวัย เชื่อใจให้เราดูแล
All the best for your elder

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy