เคล็ดลับการสื่อสารกับผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง - ศูนย์ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ The Senizens


เคล็ดลับการสื่อสารกับผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง - ศูนย์ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ The Senizens

เคล็ดลับการสื่อสารกับผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอาจมีปัญหาในการสื่อสาร เช่น ไม่เข้าใจคำพูด พูดไม่ชัด พูดช้า สั่งกล้ามเนื้อพูดไม่ได้ดังใจนึก พูดไม่ได้ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหงุดหงิด ทุกข์ใจ ญาติและครอบครัวจึงควรพยายามทำความเข้าใจ อดทน และแสดงออกให้ผู้ป่วยเห็นถึงความใส่ใจและความรัก เพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังใจและมีความสุขในการใช้ชีวิต วันนี้จึงมีเคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการสื่อสารกับผู้สูงอายุที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมองมาฝากค่ะ

สิ่งที่พึงกระทำในการสื่อสารกับผู้ป่วยมีดังต่อไปนี้ค่ะ
•เผชิญหน้าตาสบตา เมื่อต้องการจะสื่อสาร ไม่ทำกิจกรรมอื่นขณะต้องการสื่อสาร เช่น ดูโทรทัศน์ เป็นต้น
•ใช้คำพูดสั้น ๆ ง่าย ๆ และพูดช้า ๆ อย่างชัดเจน
•อาจใช้ร่างกายทำท่าทางประกอบเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจได้ง่ายขึ้น
•รอฟังคำตอบอย่างใจเย็น ให้เวลาท่านคิดอย่างเพียงพอ พยายามหลีกเลี่ยงการพูดแทน เพราะสิ่งที่ท่านอยากจะสื่อสารอาจไม่ใช่สิ่งที่เราคิด
•พูดกระตุ้นหรือชมเชย เพื่อส่งเสริมความมั่นใจในตัวเองให้กับผู้ป่วยมากขึ้น
•สัมผัสผู้ป่วยอย่างสุภาพ เพื่อแสดงออกถึงความห่วงใย เข้าใจ และเต็มใจในการดูแลท่าน การแสดงออกนี้จะช่วยให้ท่านเกิดความเชื่อใจ รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า และผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น
•ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาด้านการได้ยิน/มองเห็นร่วมด้วย อาจใช้เครื่องมือช่วยในการสื่อสารได้ เช่น เขียนลงกระดาษ เขียนใส่กระดาน เลือกตัวอักษรจากกระดานอักษรหรืออุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิคส์ เช่น แท็บเล็ต เป็นต้น

และสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการสื่อสารกับผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองมีดังต่อไปนี้ค่ะ
•พูดประโยคยาว ใช้ความหมายโดยนัย เพราะจะทำให้ท่านไม่เข้าใจและเกิดความสับสนได้
•ตะโกนเสียงดัง แนะนำให้ใช้น้ำเสียงธรรมดาแต่ชัดเจนแทนค่ะ
•พูดคำที่ทำให้รู้สึกมีปมด้อยเกี่ยวกับตัวโรค อาจให้ท่านเกิดอาการซึมเศร้าและหมดกำลังใจ
•สัมผัสผู้ป่วยอย่างรุนแรง ไม่สุภาพ เนื่องจากอาจเป็นสาเหตุให้ท่านรู้สึกหงุดหงิด ไม่สบาย และไม่ไว้วางใจเราได้ค่ะ

นอกจากนี้ครอบครัว ญาติ และผู้ดูแลยังมีส่วนสำคัญในการให้กำลังใจ และกระตุ้นให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเองให้มากที่สุด โดยไม่ลืมที่จะใช้/รับรู้ถึงร่างกายด้านที่อ่อนแรง เพื่อคงไว้ซึ่งระดับความสามารถสูงสุดที่ท่านสามารถทำได้ค่ะ ลองนำเคล็ดลับในการสื่อสารกับผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมองที่ได้กล่าวไปข้างต้นไปใช้กันดูนะคะ อาจจะทำให้ความสัมพันธ์ของท่านกับผู้ป่วยใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้นค่ะ

บทความโดย : ศุภธิดา สรศักดิ์ (นักกิจกรรมบำบัด)
ศูนย์ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ The Senizens
กิจกรรมกลุ่มกระตุ้นสมองและความจำ (Focus Group & Brain Gym for Senior)

เหมาะสำหรับ
- ผู้ที่มีปัญหาด้านความจำ สมองเสื่อม
- ผู้ที่ต้องการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม เสริมประสิทธิภาพการบำบัดผ่านกลุ่มสัมพันธ์
- ผู้สูงวัยที่ต้องการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ผ่านกิจกรรม

ทุกวัน จันทร์-ศุกร์ 14.30-15.30 น.
โดยนักกิจกรรมบำบัดทุกวัน ราคา 800 บาท/ครั้ง

สนใจติดต่อ
Tel : 084-264-2646 /084-246-2662
Line id : @thesenizens
www.thesenizens.com

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy