4 วิธีลดหวานง่าย ๆ ❘ Chersery Home International


4 วิธีลดหวานง่าย ๆ ❘ Chersery Home International

สรุป 4 วิธีลดหวานง่ายๆ ... ไกลโรค ดีสำหรับผู้สูงวัย แบบฉบับรู้ก่อนลืมแก่ !!
 
ในผู้สูงวัยอาจจะมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านการรับรสและการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่าง ๆ ทำให้บางครั้งการรับรสที่ลดลง อาจทำให้อาหารที่รับประทานที่รสจัดขึ้น หวานก็หวานมากกว่าปกติ หรือพยายามปรุงให้มากกว่าปกติ เพื่อให้รับรสได้ใกล้เคียงเดิม แต่อาหารที่หวานก็ไม่ใช่ว่าจะดีนะครับ เพราะจะทำให้ได้รับน้ำตาลมากเกินไป อันเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะต่างๆตามมาได้ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน รวมถึงการคบคุมภาวะโรคประจำตัวที่แย่ลงด้วยครับ

นอกจากนี้เมื่อรับประทานอาหารหวานต่อเนื่องกันนานๆ อาจจะมีภาวะ “ติดหวาน” ได้ เคยเป็นไหมครับเวลาทีรับประทานอาหารหวานต่อเนื่องกันนานๆ แล้ววันไหนไม่ได้รับประทานอาหารหวานจะรู้สึกเหมือนขาดอะไรบางอย่างไป รู้สึกไม่อร่อย ไม่สดชื่น ไม่เจริญอาหาร วันนี้หมอมี 4 วิธีเพื่อให้สูงวัย ”ไม่ติดหวาน” มาแนะนำทุกท่านนะครับ

 
1. อ่านสลากอาหารทุกครั้ง : 
ในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆจะมีสลากเพื่อแสดงส่วนประกอบของอาหารนั้นๆ สังเกตุว่าอาหารเหล่านั้นมีส่วนประกอบของน้ำตาลมากน่อยแค่ไหน
ที่สำคัญน้ำตาลหลายๆอย่างเขียนระบุเป็น น้ำผึ้ง น้ำตาลมะพร้าว ไซรัป ฯลฯ แต่เมื่อเข้าร่างกายของเราแล้วยังไงก็คือน้ำตาลนะครับ ซึ่งควรบริโภคน้ำตาลนอกมื้ออาหาร ไม่ควรเกิน 24 กรัมต่อวัน !!! ซึ่งการอ่านฉลากบนผลิตภัณฑ์บรรจุอาหารอย่างถูกวิธีจะทำให้เลือกกินเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องและไม่เกินเกณฑ์ที่จะทำให้เกิดโรคอ้วนครับ


 2. ความหวานธรรมชาติย่อมดีกว่าความหวานสังเคราะห์: 
ใช้ความหวานจากธรรมชาติเช่น ความหวานจากผัก เครื่องเทศ ในการปรุงอาหารก็ทำให้อาหารมีรสหวาน กลมกล่อม ดีกว่าการใส่น้ำตาลหรือสารปรุงรสลงไปในอาหาร !! อีกเรื่องหนึ่งคือสารสังเคราะห์เพื่อให้ความหวานแทนน้ำตาล จริงอยู่สารเหล่านี้ไม่ใช่น้ำตาล แต่การรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของสารเหล่านี้นาน ๆ ทำให้เรามีความชินกับรสชาติหวาน ทำให้อยากอาหารหวาน หรือ “ติดหวาน” ได้ครับ หากกินไม่ปรุงได้ กระหายน้ำให้ดื่มน้ำ ( น้ำเปล่าสะอาด ) ได้จะดีที่สุด

 
3. หลีกเลี่ยงน้ำหวานและน้ำอัดลม : 
ในน้ำหวานและน้ำอัดลมหลายๆยี่ห้อจะมีส่วนประกอบของน้ำตาลที่ค่อนข้างมากจนถึงมากจนน่ากลัวนะครับ บางคนดื่มแล้วสดชื่นก็เลยดื่มเพลินไปหลายแก้ว หลายขวด ทำให้ปริมาณน้ำตาเกินได้ครับ นำสู่โรคอ้วนลงพุงอย่างหลีกเลี่ยวไม่ได้

 
4. ค่อยๆลดทีละน้อย :
ในผู้ที่รับประทานอาหารหวานอยู่เป็นประจำ การตัดหรือลดอาหารหวานทันทีอาจทำให้เกิดอาการหงุดหงิดได้ ใช้หลักค่อยเป็นค่อยไปดีกว่าครับ ลดวันละน้อย ทีละหน่อย เดี๋ยวจะได้ผลเองครับ ค่อยๆปรับทีละนิดครับ สุดท้ายแล้วทุกๆท่านจะได้เป็นผู้สูงวัยไม่ติดหวาน และมีสุขภาพดี หุ่นหล่อสวยกันทุกคนนะครับ

 
ด้วยรัก
นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ( หมอเก่ง )อายุรแพทย์
ผู้อำนวยการ รพ.ผู้สูงอายุ Chersery Home International

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy