การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง


การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การออกกำลังกายมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีปัญหาในการเริ่มต้นการออกกำลังกาย เช่น กลัวว่าออกกำลังกายแล้วจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย รู้สึกอ่อนเพลียง่ายจึงไม่อยากออกกำลังกาย หรืออยากออกกำลังกายแต่ไม่ทราบว่าควรเริ่มต้นอย่างไรดี

การประเมินตนเองก่อนออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง
หากมีภาวะดังต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย
- มีความดันโลหิตสูง กำลังได้รับยาลดความดัน หรือความดันโลหิตต่ำจนทำให้หน้ามืดเวลาเปลี่ยนท่าทาง
- โรคหัวใจ เช่น หัวใจขาดเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ กำลังได้รับยาโรคหัวใจ และโรคหัวใจที่แพทย์เคยแนะนำว่า ควรออกกำลังกายภายใต้คำแนะนำจากแพทย์เท่านั้น
- มีอาการเจ็บอกในขณะที่อยู่เฉยๆ หรือในขณะออกกำลังกาย
- เวียนศีรษะ สูญเสียการทางตัว หรือเคยมีประวัติหมดสติ
- มีภาวะติดเชื้อ เช่น มีไข้ หนาวสั่นหรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นต้น
- ก้อนมะเร็งกดเบียดหลอดเลือด ไขสันหลัง ลำไส้ หรือกระเพาะปัสสาวะ
- มีน้ำในช่องอก ช่องท้อง ช่องหัวใจ ที่ทำให้เหนื่อยง่ายหรือเคลื่อนไหวลำบาก
- มีระดับของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ต่ำกว่าปกติ
- มีปัญหาด้านกระดูกและข้อ ที่มีอาการแย่ลงเมื่อออกกำลังกาย หรือเป็นโรคมะเร็งลามไปที่กระดูก
- มีระดับเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ
- เหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้สงสัยว่าไม่ควรจะออกกำลังกาย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย

หลักการออกกำลังกายในผู้ป่วยมะเร็ง
- เริ่มต้นอย่าง ค่อยเป็นค่อยไป แต่ขอให้ทำอย่างสม่ำเสมอ
- การออกกำลังกายอย่างหักโหมทันที จะทำให้ร่างกายเครียดและอ่อนล้าโดยไม่จำเป็น
- หลังการรักษามะเร็ง ร่างกายต้องใช้เวลาพักฟื้น สักช่วงหนึ่ง ก่อนที่จะกลับมาออกกำลังกายจนแข็งแรงเท่าเดิมได้
- ออกกำลังกาย เท่าที่รู้สึกว่าตัวเอง “ ไหว ”
- ให้พยายาม ออกกำลังกายอะไรก็ได้แม้เล็กน้อย ยังส่งผลดีต่อสุขภาพ ดีกว่าไม่ออกกำลังกายเลย
- ระหว่างวัน พยายาม หลีกเลี่ยงการนั่งหรือนอนเฉยๆ เป็นเวลานาน ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ แม้ว่าผู้ป่วยจะออกกกำลังกายทุกวันก็ตาม

ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคมะเร็ง
- ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต ผู้ป่วยมะเร็ง เช่น ลดความกังวล ความเครียด และโรคซึมเศร้าได้
- ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ให้รู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้นได้
- ช่วยลดผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็ง เช่น อาการอ่อนเพลีย อาการปวด และอาการกล้ามเนื้อฝ่อลีบได้
- อาจช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิต ในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมได้
- อาจช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตและลดการกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็ง ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ได้

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่รู้สึกไม่ค่อยอยากเริ่มออกกำลังกาย
- เลือกชนิดการออกกำลังกายที่ชอบ จะทำให้สามารถออกกำลังกายได้สม่ำเสมอ แต่ควรสับเปลี่ยนชนิดออกกำลังกายบ้าง เพื่อไม่ให้ซ้ำซากจำเจ
- ฟังเพลงที่ชอบระหว่างการออกกำลังกาย ทำให้มีความสุขกับการออกกำลังกายมากขึ้น
- มีเพื่อนร่วมออกกำลังกาย จะทำให้ออกกำลังกายได้สม่ำเสมอมากขึ้น
- เลือกออกกำลังกายในช่วงที่รู้สึกสดชื่นมากที่สุดของวัน โดยเริ่มออกกำลังกายเบาๆ ช่วงสั้นๆ ก่อนในช่วงแรก
- จดบันทึกการออกกำลังกายในแต่ละวัน จะทำให้มีแรงจูงใจมากขึ้นในการออกกำลังกาย
- ควรพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6 - 8 ชั่วโมงต่อวัน และควรดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม

เทคนิค 5 ขั้นตอน สู่การเริ่มต้นการออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน
1. มีเหตุผลที่ชัดเจน ว่าทำไมถึงอยากออกกำลังกาย และทบทวนบ่อยๆ
2. ตั้งเป้าหมายแรก ให้เป็นเป้าหมายที่ทำได้ง่าย ทำได้จริง เพื่อกำลังใจในการพัฒนาสู่เป้าหมายต่อไป
3. มองหากิจกรรมที่ช่วยเพิ่มการออกกำลังกายในวิถีของชีวิตประจำวัน เพื่อจะได้ทำได้ทุกวัน
4. พยายามอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่รักการออกกำลังกาย อยู่ในบรรยากาศของความกระปรี้กระเปร่า
5. ค่อยๆ เพิ่มการออกกกำลังกายทีละเล็กน้อย ตามกำลังของตนเอง จะทำให้ออกกำลังกายได้สม่ำเสมอมากกว่า

การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้วยังสามารถช่วยให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส เป็นการเตรียมความพร้อมที่จะต่อสู้กับตัวโรคได้เป็นอย่างดี เพียงแค่คุณกล้าที่จะเริ่มต้นออกกำลังกายแค่นั้นเอง


บทความโดย : กภ.พลอยชมพู เม็งสุวรรณ
นักกายภาพบำบัด รพ.ผู้สูงอายุ Chersery Home International

บอก "รัก" ผู้สูงวัย เชื่อใจให้เราดูแล
รพ.ผู้สูงอายุ Chersery Home International

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel: 084-264-2646
Line id @cherseryhome

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้