โรคพังผืดกดกทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ


โรคพังผืดกดกทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

โรคพังผืดกดกทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

(Carpal Tunnel Syndrome)

อาการ
อาการเริ่มต้นมักจะเป็นน้อยๆ แล้วค่อยๆ เป็นมากขึ้น เริ่มด้วยอาการปวดที่ข้อมือหรือรู้สึกยิบๆ บริเวณข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือ ทางด้านอุ้งมืออาจมีความรู้สึกเหมือนนิ้วหนา มีอาการชาบริเวณนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้ว ทางฝั่งฝ่ามือ และหนักและกล้ามเนื้อฝ่อ ถ้าเป็นนาน 4 - 5 เดือน อาการมักจะเป็นตลอดเวลา การเคลื่อนไหวในฝ่ามือจำกัด เช่น กำมือไม่สุด เขียนหนังสือลำบากมากขึ้น กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อฝ่อลีบ

สาเหตุ
บริเวณของข้อมือจะมีโพรงหรืออุโมงค์ (carpal tunnel) หรืออุโมงค์พังผืดบริเวณข้อมือ (Transverse carpal ligament) ซึ่งเป็นที่ลอดผ่านของเส้นประสาทกลางฝ่ามือ โดยสาเหตุของโรคนี้เกิดจากความดันในโพรงข้อมือสูงขึ้น มาจากการหนาตัวของเนื้อเยื่อและพังผืดบริเวณข้อมือทำให้โพรงข้อมือเกิดการตีบแคบลงจึงเกิดการกดทับของเส้นประสาทได้ ส่งผลให้เลือดไม่มาเลี้ยงเส้นประสาทกลางฝ่ามือและทำให้เกิดการทำงานผิดปกติของมือ ซึ่งสาเหตุของการกดทับก็มีด้วยกันหลายสาเหตุ ดังนี้
1.เพศและพันธุกรรม ส่วนใหญ่ผู้หญิงมีโอกาสเป็นได้มากกว่าผู้ชาย เพราะโครงสร้างร่างกายผู้หญิงเป็นคนตัวเล็กกว่า ดังนั้นข้อมือจึงเล็กกว่าทำให้อาจเกิดการตีบแคบของโพรงบริเวณข้อมือได้ง่าย
2.ความผิดปกติทางโครสร้าง เช่น ข้อมือหัก หรือเคลื่อน สามารถทำให้เกิดการกดทับของเส้นประสาทได้
3.ภาวะอ้วน ถือว่าเป็นภาวะเสี่ยงของการกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อมือได้
4.โรคที่เกี่ยวข้อง เช่น เบาหวาน รูมาตอยด์ และไฮโปไทรอยด์
5.การใช้ข้อมือซ้ำๆ โดยต้องกระดกข้อมือตลอดเวลา เช่น เกมเมอร์ การตัดต่อคลิปวิดิโอ หรือพนักงานที่ต้องใช้เม้าส์หรือแป้นพิมพ์บ่อยๆ เป็นต้น

ทางการรักษาและป้องกัน
ระยะแรก
จะมีอาการปวดบริเวณอุ้งมือ ในบางรายอาจจะมีอาการบวมข้อมือร่วมด้วยควรหลีกเหลี่ยงกิจกรรมที่ทำแล้วปวด
1. ประคบบริเวณที่ปวดนาน 30 นาที วันละ 1 - 2 ครั้ง หรือ อาจจะประคบด้วยความเย็น โดยใช้น้ำแข็งห่อผ้าขนหนูประคบที่ปวดนาน 10 - 15 นาที บ่อย ๆ ได้ตามความต้องการ แต่ควรเว้นช่วงในการประคบมากกว่า 30 นาที-1ชั่วโมง แล้วจึงประคบใหม่อีกครั้ง

ระยะสอง
จะไม่มีอาการปวดหรือบวมบริเวณอุ้งมือหรือข้อมือให้เน้นฝึกเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ
- ใช้หนังยาง (หนังยางเส้นใหญ่) รัดปลายนิ้ว กางนิ้วออก (ใช้แรงดึงของหนังยางเป็นแรงต้าน) ค่อย ๆ เพิ่มจำนวนหนังยาง ขึ้นเรื่อย ๆ ตามที่ทำได้ โดยไม่เจ็บ จำนวน 20 ครั้ง ทำบ่อยได้ตามต้องการ
- สามารถบริหารข้อมือเพื่อผ่อนคลายและป้องกันการปวดข้อมือ

กภ.อัจจิมา ปล้องอ้วน นักกายภาพบำบัด
โรงพยาบาลผู้สูงอายุและศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู Chersery Home

Tel: 084 264 2646 / 084 264 2662
Line id: @cherseryhome
Facebook: cherseryhome
www.cherseryhome.com

บอก"รัก"ผู้สูงวัย เชื่อใจให้เราดูแล
All the best for your elder

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้