ทำไมถึงต้องฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจหลังผ่าตัด ? - รพ.ผู้สูงอายุ Chersery Home


ทำไมถึงต้องฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจหลังผ่าตัด ? - รพ.ผู้สูงอายุ Chersery Home

การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ Cardiac Rehabilitation Program
ทำไม ถึงต้องฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ หลังผ่าตัด ?


1.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหัวใจกลับมามีความสามารถและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เหมือนปกติ
2.เพื่อให้อาการหอบเหนื่อยน้อยลง มีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนก่อนป่วยทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ
3.สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ

ข้อห้ามในการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

-Unstable angina
-ภาวะหัวใจวายที่ควบคุมไม่ได้
-ลิ้นหัวใจตีบขั้นปานกลางถึงรุนแรง
-Recent pulmonary embolism หรือ severe pulmonary arterial hypertension
-ความดันโลหิต systolic ขณะพัก > 200 มม.ปรอท หรือความดันโลหิต diastolic ขณะพัก> 100 มม.ปรอท
-ความดันโลหิต systolic ลดลง> 20 มม.ปรอท เมื่อเปลี่ยนจากที่นั่งเป็นท่ายืน
-ภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือ เต้นช้ามากที่ควบคุมไม่ได้
-ไข้หรือภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลัน
-เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
-ปัญหาทางกระดูกและข้อที่จะเป็นอุปสรรคในการออกกำลังกาย

ต้องหยุดออกกำลังกายเมื่อ?
1.เมื่อยล้ามาก
2.เครื่องติดตามผู้ป่วยทำงานไม่ปกติ
3.เวียนศีรษะ มึนงง เซ ซีด เขียว เหนื่อยหอบ คลื่นไส้อาเจียน
4.เริ่มมีเจ็บหน้าอก
5.ความดันโลหิตตก
6.ความดันโลหิตสูงขึ้นมาก (ความดัน systolic มากกว่า 220 หรือ diastolic มากกว่า 110 มม.ปรอท)
7.อัตราการเต้นหัวใจต่ำลงมากกว่า 10 ครั้ง/นาที เมื่อออกกำลังกาย
8.ถ้าคืนที่ผ่านมานอนไม่หลับจนร่างกายอ่อนเพลียมาก
9.อากาศร้อนจัด หนาวจัด มีฝุ่นละออง ควัน ไอเสียมาก

ระยะต่าง ๆ ของการฝึก
ระยะที่ 1 ระยะที่ผู้ป่วยนอนอยู่ ในโรงพยาบาล
ระยะที่ 2 ระยะที่ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลโดยใช้ ระยะเวลาประมาณ 8-12 สัปดาห์
ระยะที่ 3 ระยะผู้ป่วยนอกต่อเนื่อง (เริ่มในระยะ 3 เดือน)

การฟื้นฟูสภาพหัวใจ ระยะที่ 1 (Phase 1)
ระยะผู้ป่วยใน (Inpatient Phase)
ระยะที่ 1 คือระยะที่ผู้ป่วยอยู่ ในโรงพยาบาล

วัตถุประสงค์
1.ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการนอนนาน ๆ
2.ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้อย่างปลอดภัย
3.ช่วยให้ผู้ป่วยมี ความมั่นใจในการปฏิบัติตน และ ลดความเครียดอาจที่เกิดขึ้น
4.เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องหลังออกจากโรงพยาบาลรวมทั้งสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจได้

การออกกำลังกาย
รูปแบบ (mode) ใช้การออกกำลังกายแบบ callisthenic exercise และการเดินเป็นหลัก
ระยะเวลาในการออกกำลังกาย (duration)5-10 นาทีในระยะแรก และค่อยๆเพิ่มขึ้นได้ 20-30 นาที

ความถี่ (frequency)
วันละ 2 ครั้ง ขึ้นกับสภาพผู้ป่วย และในผู้สูงอายุ 2 ครั้ง/สัปดาห์
เป้าหมายของการฟื้นฟูสภาพในระยะที่ 1 คือ ผู้ป่วยสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ และทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายในระดับ 5 METs ได้
•เริ่มจากบริหารบนเตียง
•เคลื่อนไหวต่อเนื่องกันช้า ๆ ไม่เกร็งค้าง ไม่กลั้นหายใจ
•เริ่มจากข้อมือ ข้อเท้าก่อน ค่อยไปที่ข้อใหญ่


1.กระดกข้อมือขึ้นลง ทำซ้ำ 20 ครั้ง
2.กระดกข้อเท้าขึ้นลง ทำซ้ำ 20 ครั้ง
3.นั่งข้างเตียง เหยียดเข่าขึ้นลง ทำซ้ำข้างละ 10 ครั้ง 2 รอบ
4.นั่งข้างเตียงยกเข่าขึ้นด้านบน ทำซ้ำข้างละ 10 ครั้ง 2 รอบ
5.นั่งข้างเตียงนำมือแตะที่หัวไหล่ทั้ง 2 ข้าง หมุนไหล่ไปทางข้างหน้า-ไปข้างหลัง ทำซ้ำ 20 ครั้ง
6.นั่งข้างเตียงยกแขนขึ้นเหนือศีรษะทั้ง 2 ข้าง ทำซ้ำ 10 ครั้ง 2 รอบ
7.นั่งข้างเตียงเหยียดแขนทั้ง 2 ข้าง พร้อมพับศอกและเหยียดออก ทำซ้ำ 10 ครั้ง 2 รอบ
8.เอียงศีรษะไปทางด้านข้างซ้าย-ขวา ทำสลับข้างไปมา ทำซ้ำ 20 ครั้ง
ถ้าผู้ป่วยออกกำลังกายได้ดี ไม่มีอาการผิดปกติ วันต่อมาสามารถมายืนออกกำลังกายข้างเตียง

นอกจากออกกำลังกายแล้วยังต้องสอนเรื่องการหายใจ การไอ เพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบ และยังช่วยระบายเสมหะหลังการผ่าตัดได้อีกด้วย

1.การฝึกการหายใจ เป็นการหายใจโดยใช้กระบังลม (Diaphragmatic breathing)
-นั่งหรือนอนในท่าสบาย
-วางมือข้างหนึ่งบนทรวงอก อีกข้างบริเวณลิ้นปี่
-หายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ ให้มือบนหน้าท้องยกสูงขึ้น มือบนทรวงอกไม่ขยับ
-หายใจออกทางจมูกช้า ๆ ให้มือบนหน้าท้องลดต่ำลง มือบนทรวงอกไม่ขยับ

2.การกระแอม (Huffing)
ผู้ป่วยที่ผ่าตัดเกี่ยวกับหัวใจมักจะมีแผลที่กระดูกหน้าอก (Sternum) มีแผลที่ผ่าตัดเรียก median sternotomy ในการกระแอมต้องนำผ้าขนหนูพับขนาดพอดี นำมาทาบไว้กับแผลผ่าตัด เพื่อที่จะไม่ให้เกิดบาดเจ็บเวลาทำการกระแอม ทำได้โดยให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกช้า ๆ หายใจเข้าลึก ๆ กลั้นหายใจแล้วพ่นลมหายใจออกมาทางปากคล้ายทำเสียง ฮ่า ฮ่า (แบบไม่มีเสียง)

คลินิกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลผู้สูงอายุและศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู Chersery Home
Tel: 084 264 2646 / 084 264 2662
Line id: @cherseryhome
Facebook: cherseryhome
www.cherseryhome.com
บอก"รัก"ผู้สูงวัย เชื่อใจให้เราดูแล
All the best for your elder

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้