4 วิธีลดหวานง่าย ๆ ❘ Chersery Home International


4 วิธีลดหวานง่าย ๆ ❘ Chersery Home International

สรุป 4 วิธีลดหวานง่ายๆ ... ไกลโรค ดีสำหรับผู้สูงวัย แบบฉบับรู้ก่อนลืมแก่ !!
 
ในผู้สูงวัยอาจจะมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านการรับรสและการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่าง ๆ ทำให้บางครั้งการรับรสที่ลดลง อาจทำให้อาหารที่รับประทานที่รสจัดขึ้น หวานก็หวานมากกว่าปกติ หรือพยายามปรุงให้มากกว่าปกติ เพื่อให้รับรสได้ใกล้เคียงเดิม แต่อาหารที่หวานก็ไม่ใช่ว่าจะดีนะครับ เพราะจะทำให้ได้รับน้ำตาลมากเกินไป อันเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะต่างๆตามมาได้ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน รวมถึงการคบคุมภาวะโรคประจำตัวที่แย่ลงด้วยครับ

นอกจากนี้เมื่อรับประทานอาหารหวานต่อเนื่องกันนานๆ อาจจะมีภาวะ “ติดหวาน” ได้ เคยเป็นไหมครับเวลาทีรับประทานอาหารหวานต่อเนื่องกันนานๆ แล้ววันไหนไม่ได้รับประทานอาหารหวานจะรู้สึกเหมือนขาดอะไรบางอย่างไป รู้สึกไม่อร่อย ไม่สดชื่น ไม่เจริญอาหาร วันนี้หมอมี 4 วิธีเพื่อให้สูงวัย ”ไม่ติดหวาน” มาแนะนำทุกท่านนะครับ

 
1. อ่านสลากอาหารทุกครั้ง : 
ในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆจะมีสลากเพื่อแสดงส่วนประกอบของอาหารนั้นๆ สังเกตุว่าอาหารเหล่านั้นมีส่วนประกอบของน้ำตาลมากน่อยแค่ไหน

ที่สำคัญน้ำตาลหลายๆอย่างเขียนระบุเป็น น้ำผึ้ง น้ำตาลมะพร้าว ไซรัป ฯลฯ แต่เมื่อเข้าร่างกายของเราแล้วยังไงก็คือน้ำตาลนะครับ ซึ่งควรบริโภคน้ำตาลนอกมื้ออาหาร ไม่ควรเกิน 24 กรัมต่อวัน !!! ซึ่งการอ่านฉลากบนผลิตภัณฑ์บรรจุอาหารอย่างถูกวิธีจะทำให้เลือกกินเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องและไม่เกินเกณฑ์ที่จะทำให้เกิดโรคอ้วนครับ


 2. ความหวานธรรมชาติย่อมดีกว่าความหวานสังเคราะห์: 
ใช้ความหวานจากธรรมชาติเช่น ความหวานจากผัก เครื่องเทศ ในการปรุงอาหารก็ทำให้อาหารมีรสหวาน กลมกล่อม ดีกว่าการใส่น้ำตาลหรือสารปรุงรสลงไปในอาหาร !! อีกเรื่องหนึ่งคือสารสังเคราะห์เพื่อให้ความหวานแทนน้ำตาล จริงอยู่สารเหล่านี้ไม่ใช่น้ำตาล แต่การรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของสารเหล่านี้นาน ๆ ทำให้เรามีความชินกับรสชาติหวาน ทำให้อยากอาหารหวาน หรือ “ติดหวาน” ได้ครับ หากกินไม่ปรุงได้ กระหายน้ำให้ดื่มน้ำ ( น้ำเปล่าสะอาด ) ได้จะดีที่สุด


 
3. หลีกเลี่ยงน้ำหวานและน้ำอัดลม : 
ในน้ำหวานและน้ำอัดลมหลายๆยี่ห้อจะมีส่วนประกอบของน้ำตาลที่ค่อนข้างมากจนถึงมากจนน่ากลัวนะครับ บางคนดื่มแล้วสดชื่นก็เลยดื่มเพลินไปหลายแก้ว หลายขวด ทำให้ปริมาณน้ำตาเกินได้ครับ นำสู่โรคอ้วนลงพุงอย่างหลีกเลี่ยวไม่ได้


 
4. ค่อยๆลดทีละน้อย :
ในผู้ที่รับประทานอาหารหวานอยู่เป็นประจำ การตัดหรือลดอาหารหวานทันทีอาจทำให้เกิดอาการหงุดหงิดได้ ใช้หลักค่อยเป็นค่อยไปดีกว่าครับ ลดวันละน้อย ทีละหน่อย เดี๋ยวจะได้ผลเองครับ ค่อยๆปรับทีละนิดครับ สุดท้ายแล้วทุกๆท่านจะได้เป็นผู้สูงวัยไม่ติดหวาน และมีสุขภาพดี หุ่นหล่อสวยกันทุกคนนะครับ


 
ด้วยรัก
นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ( หมอเก่ง )อายุรแพทย์
ผู้อำนวยการ รพ.ผู้สูงอายุ Chersery Home International

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้