ภาวะกลืนลำบากภัยเงียบในผู้สูงอายุ (4) ❘ Chersery Home


ภาวะกลืนลำบากภัยเงียบในผู้สูงอายุ (4) ❘ Chersery Home

ภาวะกลืนลำบากภัยเงียบในผู้สูงอายุ (4)

อีกหนึ่งหัวข้อที่มีความสำคัญกับกระบวนการกลืนของคนเรา นั่นก็คืออาหารและน้ำ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญสำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก เนื่องจากผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากนั้นมีความสามารถในการกลืนอาหารที่ลดลง ทำให้กลืนอาหารบางประเภททำได้ได้ยากขึ้น การฝึกกลืนโดยใช้อาหารและน้ำนั้น ควรอยู่ภายใต้การดูแลและการให้คำนำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงต่อการสำลัก อันจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาภาวะปอดอักเสบได้ หากเป็นบ่อย อาหารและน้ำที่ใช้ในการฝึกกลืนนั้นเราสามารถแบ่งได้เป็น 8 ระดับ โดยแบ่งเป็นน้ำหรือของเหลว 3 ระดับ และอาหาร 5 ระดับ ดังนี้

ประเภทของน้ำหรือของเหลว

1. Thin – liquid หรือที่เราเรียกว่าระดับ Nectar
เมื่อผสมผงหนืด ของเหลวที่อยู่ในระดับนี้จะมีลักษณะใกล้กับน้ำหรือของเหลวมากที่สุด เพียงแต่มีความหนืดกว่าและไหลได้ช้ากว่าน้ำหรือของเหลวเล็กน้อย  ตัวอย่างอาหารระดับดังกล่าว ได้แก่ นม, น้ำผลไม้, ซุปใส เป็นต้น

2. Medium thick liquid หรือที่เราเรียกว่าระดับ Honey
เมื่อผสมผงหนืด ของเหลวที่อยู่ในระดับนี้จะมีความหนืดกว่าและไหลได้ช้ากว่าของเหลวระดับแรก เวลาใช้ช้อนตักแล้วเทลงมาจะมีลักษณะตกลงมาเป็นสายคล้ายน้ำผึ้ง ไม่คงตัวเมื่อเทจากช้อน ตัวอย่างอาหารระดับดังกล่าว ได้แก่ ซุปที่มีลักษณะเป็นเนื้อครีม, น้ำผึ้ง, โยเกิร์ตพร้อมดื่ม เป็นต้น

3. Thick liquid หรือที่เราเรียกว่าระดับ Pudding
เมื่อผสมผงหนืด ของเหลวที่อยู่ในระดับนี้จะมีความหนืดมากที่สุดใน 3 ระดับและมีความหนืดใกล้เคียงกับอาหารระดับที่ 1 เวลาใช้ช้อนตักจะคงรูปร่างบนช้อนได้ จับตัวเป็นก้อนได้ในระดับหนึ่ง ตัวอย่างอาหารระดับดังกล่าว ได้แก่ โยเกิร์ตข้น, ผลไม้ปั่นน้ำน้อยไม่แยกกาก, ไอศครีม เป็นต้น


ประเภทของอาหาร

1. Thick – pureed หรืออาหารปั่นข้นหนืด
เป็นอาหารที่มีลักษณะข้นเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีกากอาหาร เหมาะสำหรับเป็นอาหารฝึกกลืนระยะแรกสำหรับผู้ป่วยที่ยังบังคับการเคี้ยวหรือการกลืนได้ไม่ดีหรือมีความเสี่ยงต่อการสำลักง่าย เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการสำลัก ตัวอย่างอาหารเช่น โจ๊กปั่นข้น, ซุปข้นต่าง ๆ ที่ผ่านการกรองเอากากอาหารออก, ฟังทองบด, โยเกิร์ต, ไอศครีม, มันบด, พุดดิ้งเนื้อมูส, ผลไม้ปั่นข้นกรองกากออก เป็นต้น


2. Thick and thin pureed and thick liquid หรืออาหารปั่นหนืด
เป็นอาหารที่มีลักษณะเหมือนอาหารประเภทแรกแต่มีความข้นน้อยกว่า มีปริมาณน้ำในเนื้ออาหารเพิ่มขึ้น เหมาะกับผู้ป่วยที่สามารถกลืนระดับที่ 1 ได้ดีขึ้น


3. Mechanical soft diet หรืออาหารอ่อนเคี้ยวง่าย
เป็นอาหารที่มีลักษณะอ่อนนิ่ม มีกากอาหารได้ ต้องหั่นให้มีขนาดเป็นชิ้นเล็ก ๆ เคี้ยวได้ง่ายไม่แข็งจนเกินไป ไม่แห้งแต่ก็ไม่เป็นน้ำมากเกินไป เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้น ทานระดับที่ 2 ได้ดี เริ่มที่จะฝึกเคี้ยวร่วมด้วย มีปัญหาการกลืนของเหลว (ยังไม่สามารถกลืนน้ำหรือของเหลวปกติได้) หรือผู้สูงอายุที่ไม่มีฟัน หรือผู้สูงอายุที่ใส่ฟันปลอม ตัวอย่างอาหาร ข้าวต้มข้น, ราดหน้าหั่นชิ้นเล็ก ๆ ผลไม้สุกนิ่ม อาหารต่าง ๆ ที่มีการสับหรือบดในส่วนของเนื้อสัตว์ เนื้อตุ๋นต้มจนเปื่อย เป็นต้น


4. Soft diet หรืออาหารอ่อน
เป็นอาหารที่มีลักษณะอ่อนนิ่ม เหมือนระดับที่ 3 แต่ไม่จำเป็นต้องหั่นชิ้นเล็ก ๆ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีปัญหาการบดเคี้ยวหรือปัญหาการกลืนของเหลว สามารถกลืนของเหลวระดับที่ 2 และ 3 ได้ดี ตัวอย่างอาหาร เช่น ก๋วยเตี๋ยว, ราดหน้า, ข้าวต้มทรงเครื่อง เป็นต้น
5. Regular diet หรืออาหารปกติ เป็นอาหารทั่วไปที่ผู้ป่วยสามารถรับประทานได้

เรียบเรียงโดย
นางสาวจริญญา บุญริ้ว และ นายฐิติวัฒน์ ศรีบุญธรรม

โรงพยาบาลผู้สูงอายุและศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู Chersery Home
Tel: 084-264-2646
Line id: @cherseryhome
Facebook: cherseryhome
www.cherseryhome.com
บอก"รัก"ผู้สูงวัย เชื่อใจให้เราดูแล
All the best for your elder

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้